วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ใบงานที่ 2 

ชื่อ ด.ช.ธนพล  

นามสกุล จันทร์รักษา

ชั้น ม.2
เลขที่ 9
 

คำสั่งให้นักเรียนศึกษาจากบทเรียน e-learning และ ค้นคว้าหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต สรุปความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ พร้อมยกตัวอย่างมาให้เข้าใจพิมพ์ลงในใบงานที่ 2 จากนั้นให้นักเรียน Upload ขึ้นเว็บของนักเรียนเอง

1. ข้อมูลคืออะไร

หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไพโรจน์ คชชา, 2542) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของ ข้อมูล(Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือ การคำนวณ


2.  ข้อมูลและสารสนเทศมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างไร

ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน


3.  จงอธิบายองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้        

 อธิบายความหมายของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer  Technology)        

-  อธิบายความหมายของเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม (Communication Technology)

1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 

คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก                 เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อ               เชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรม                   คอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) 
            ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 
· อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader) 
· อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล 
· หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล
· หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล
·  หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต
          
           2.เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม 
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของ               ข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือ                 สารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์               ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และ             เสียง (Voice) 
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบ                               โทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์โมเด็มแฟกซ์โทรเลขวิทยุ                       กระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น

4.  ระบบสารสนเทศมีกี่ประเภทอะไรบ้างพร้อมทั้งอธิบายความหมายของแต่ละประเภท

   5 ประเภท ได้แก่ 

   1.ฮาร์ดแวร์

          ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบ           ข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์                 เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น  3 หน่วย คือ
         -หน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
         -หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
         -หน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์
            
            2.ซอฟต์แวร์

          ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้น             ตอน ของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความ               ต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน                 ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์               ก่อนหน้านี้      ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มี                 ลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วน               ประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จ             ที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมี           ลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กรส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนา           ระบบตามความต้องการโดยการว่าจ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ของ               องค์กร เป็นต้น
          
           3. ข้อมูล
        
          ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความ                 สำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูล             จะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็น             จะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมี                 โครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

            4. บุคลากร

          บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์           ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทาง                       คอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็ม                     ศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่อง                   คอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและ             พัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มี               ความซับซ้อนจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน

            5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

          ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการ           หนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็                 จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติ             และกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่อง           ชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่ง             เหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน

5.  ให้นักเรียนยกตัวอย่างของโปรแกรมต่อไปนี้        

-  โปรแกรมประมวลผลคำ (Word  Processing)

    Microsoft office Word

-  โปรแกรมตาราง (Spreadsheet)
    Microsoft  office Excel

-  โปรแกรมฐานข้อมูล (Database)   

    dBASE,Access,FokPro

-  โปรแกรมการนำเสนอ (Presentation)    

    Microsoft office Powerpoint

 -  โปรแกรมออกแบบกราฟิก (Graphics) 

    Photoshop

-  โปรแกรมเว็บบราวน์เซอร์ (Web  Browserr)

    Google Chrome

6.  ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศมีกี่ประเภทอะไรบ้างพร้อมทั้งอธิบายความหมายของแต่ละประเภท

       มี 3 ประเภท ได้แก่
         -ระดับสูง (Top Level Management) กลุ่มของผู้ใช้ระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับ ผู้บริหารระดับสูง              มีหน้าที่          กำหนดและวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย โดยมีทั้งสารสนเทศ        ภายใน และ                  สารสนเทศภายนอก เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์โดยรวม ซึ่งระบบ        สารสนเทศในระดับนี้ต้อง            ออกแบบให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ไม่มีความซับซ้อน            หรือยุ่งยาก แสดงผลทางด้านกราฟฟิค บ้าง ต้องตอบสนองที่รวดเร็วและทันท่วงทีด้วยเช่นกัน
        - ระดับกลาง (Middle Level Management) เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้งานระดับการบริหารและ                จัดการองค์กร ซึ่งมีหน้าที่รับนโยบายมาจากผู้บริหารระดับสูง นำมาสานต่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่        กำหนดไว้ ด้วยการใช้หลักบริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศที่ใช้มักได้มา          จากแหล่งข้อมูลภายใน ระบบสารสนเทศจึงต้องมีการจัดอันดับทางเลือกแบบต่างๆไว้ โดยเลือกใช้        ค่าทางสถิติช่วยพยากรณ์หรือทำนายทิศทางไว้ด้วย หากระดับของการตัดสินใจนั้นมีความซับซ้อน        หรือยุ่งยากมากเกินไป
        - ระดับปฏิบัติการ (Operation Level Management) ผู้ใช้กลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการ        ปฏิบัติงานหลักขององค์กร เช่น การผลิตหรือประกอบสินค้า งานทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องใช้การ              วางแผนหรือระดับการตัดสินใจมากนัก ข้อมูลหรือสารสนเทศในระดับนี้ จะถูกนำไปประมวลผลใน          ระดับกลางและระดับสูงต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การถ่ายรูปแบบ เซลฟี่(selfie)

ความหมายของการถ่ายรูปแบบ "Selfie" คนไทยอาจไม่รู้ว่า “Selfie” แปลว่าอะไรแต่เราคุ้นเคยมากกับการ Post รูปตัวเองที่ถ่ายด้วยกล้องหน้า iPhone  ต่างก็บอกค่อนข้างตรงกัน
ว่าคนที่ถ่ายรูป Selfie ขึ้น Facebook บ่อยๆ

เหตุผลที่ว่าทำไมคน Post รูป “Selfie” มีแนวโน้มจะถูกสังคมรังเกียจก็ตามที่เขียนไว้ในประโยคแรก
คือ“มนุษย์เราเกิดมาโดยมีสัญชาติญาณของการแข่งขัน”ดังนั้นคนเราไม่มีใครชอบที่จะเห็นภาพคนอื่นสวยกว่า รวยกว่าเด่นกว่า
[ซึ่งคน Post รูป Selfie คงไม่มีใครที่เลือกรูปที่หน้าเละเฟะที่สุดมาขึ้น Facebook & Instagram ]
เหตุผลข้อ 2 ก็คือ คนส่วนใหญ่บน Social Media ไม่ได้อยากจะรู้ อยากจะดูภาพ Selfie มุมเดียว มุมเดิมซ้ำไปซ้ำมาขนาดนั้น
ซึ่งก็จริง,คนที่ถ่ายภาพตัวเองมักจะมีอยู่แค่มุมเดียว เรียกว่ามุมแห่งดวงดาวที่ซึ่งชั้นจะสวยงามที่สุด

วิธีการถ่ายรูปแบบ "selfie" การตั้งกล้องไว้อยู่สูงกว่าระดับศรีษะ ตั้งกล้องให้เป็นถ่ายแนวตั้ง จากนั้นก็เงยหน้ามองกล้อง ทำมุม 70-80 องศา (ขนาดนั้นประมาณๆ เอาละกัน ฮ่าๆ) ทำตากลมโต  ปากจู๋ เอียงคอเล็กน้อย